วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การเขียนผังงาน ( Flowchart )

การเขียนผังงาน ( Flowchart )

                  
ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ 


ประโยชน์ของผังงาน

• ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
• ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
• ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
• ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น

วิธีการเขียนผังงานที่ดี


• ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้

• ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
• คำอธิบายในภาพควรสั้นกระทัดรัด และเข้าใจง่าย
• ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก
• ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
• ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม


ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart )

         
การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้ 



รูปแบบการเขียน Flowchart

              การเขียนเราจะเขียนในลักษณะ Top-Down คือจากบนลงล่าง(Flow คือการไหล,Flowchart ก็คือ ผังงานการไหลของข้อมูล)
             การเขียนมี 3 ลักษณะ คือ sequence(ตามลำดับ) selection(ทางเลือก/เงื่อนไข) iteration(ทำซ้ำ)

          Sqquence(ตามลำดับ)
 
          ตามชื่อเลยค่ะ เป็นการเขียนแบบไล่ทำไปทีละลำดับ ไม่มีแยก (เปรียบเสมือน ขับรถไป ไม่มีทางแยกให้เลี้ยวไปไหน)
 
 
         ที่ใช้สํญลักษณ์  เพราะมันเป็นกระบวนการ(Process)
จะเห็นว่ามันเป็นเพียงแค่ลำดับขั้นตอน ของการแก้ไขปัญหาแค่นั้นเอง (เพียงแต่เลือกใช้สัญลักษณ์ให้ถูก)

          Selection(ทางเลือก/เงื่อนไข)
 
          แล้วถ้ามีเงื่อนไข หรือ ทางเลือก ละ ประมาณว่า (สมมุตินะ) ถ้านั่งรถไปมีนบุรีแล้ว รถตู้เต็ม คนต่อแถวเยอะมากเลย ไปเรียนไม่ทันแน่ๆ ก็ให้นั่ง Taxi (เห็นมั้ยว่ามันมีทางเลือกและ หรือเงื่อนไขนั่นเอง) เรามาดูแบบมีเงื่อนไขกัน    

 
 
                จะเห็นได้ว่าพอมีเงื่อนไข หรือ ทางเลือก เราจะใช้ สัญลักษณ์  ภายในเราก็จะเขียนเงื่อนไข
ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ก็ ไปทำทางด้านจริง ถ้าไม่จริงก็ทำทางด้านไม่จริง เสมือนเราขับรถแล้วไปเจอทางแยก แต่ทางแยกนี้
มันไปถึงที่หมายที่เดียวกัน ก็ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง


          Iteration(ทำซ้ำ)
           อีกรูปแบบนึง คือ การทำซ้ำๆ เช่น เราอยากกินข้าว กินไปเรื่อยๆ ถ้าอิ่มก็กลับบ้าน ถ้าไม่อิ่มก็กินต่อ(เอาให้พุงแตกไปเลย)



               ถ้าเราเข้าใจ Flowchart เราก็จะเขียนโปรแกรมออกมาได้ง่ายขึ้น เพราะเราจะรู้ step การทำงานว่าจะต้องไปทางไหนต่อ
ทำอะไรต่อ พยายามทำความเข้าใจนะค่ะ ไม่ยาก
 
ขอขอบคุณ http://www.cpe.mut.ac.th/board


 

ขั้นตอน วิธี หลักการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์


          ปัญหาหรืออาการเสียหลายอย่างจำเป็นจะต้องใช้ทักษะในการตรวจซ่อมสูง ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีความเชี่ยวชาญหรือชำนาญเป็นพิเศษ แต่ถ้าคุณไม่มีก็อย่าเสี่ยงซ่อมเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น ทางที่ดีส่งซ่อมดีกว่า เช่น งานบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค เปลี่ยนแผ่นวงจรบนฮาร์ดดิสก์ ซ่อมเมนบอร์ด หลดภาพของจอมอนิเตอร์เสื่อม เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้แนะนำให้ส่งซ่อมดีกว่า หรือถ้าอุปกรณ์ ยังอยู่ในประกันก็ส่งเคลมดีที่สุด
ข้อมูลจากหนังสือ ซ่อมคอมอย่างเซียนพันธ์ทิพย์ 

คุณลักษณะของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์

          คอมพิวเตอร์ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท คือ

1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์(super computer)
          เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงสุดมีขนาดใหญ่และ ราคาแพงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอี่นออกแบบมาเพื่อใช้แก่ปํญหาทางวิทยาศาสตร์และ ทางวิศวกรรมศาสตร์ เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นระยะเวลาหลายวัน เป็นต้น

2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
(mainframe computer) 
          เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะการทำงานสูง เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้ได้หลายร้อยคน  คอมพิวเตอร์ชนิดนี้มักใช้ในองค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร เป็นต้น

3. มินิคอมพิวเตอร์
(minicomputer)    
          เป็นคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับองค์กรขนาดกลางที่ใช้บริการแก่เครื่องลูกข่าย เช่น โรงแรม เป็นต้น

4. ไมโครคอมพิวเตอร์
(microcomputer)
          มีประสิทธิภาพสูงราคาไม่แพงมีความนิยมสูงเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัวที่บ้าน และยังได้รับความนิยมสูงสุดด้วย

5.คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
(handheld   computer)
          สามารถจัดการกับข้อมูลประจำวันได้  สร้างปฏิทิน   บันทึกเตือนความจำ  เล่นเกม  ชมภาพยนตร์  ฟังเพลง   และรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้   เป็นคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น  พีอีเอ ไอโฟน เป็นต้น

อุปกรณ์ต่อพ่วง

          อุปกรณ์ต่อพ่วง หมายถึง  อุปกรณ์ต่างๆที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลกลางและประกอบเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้
          อุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิดมีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

1.แผงพิมพ์อักขระ
          เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการกดแป้นจากนั้นก็เปลี่ยนรหัสแล้วส่งไป ยังประมวลผลกลาง  แป้นพิมพ์โดยทั่วไปมี  50  แป้นขึ้นไปแบ่งเป็นแป้นตัวเลขและแป้นอักขระ

2.เมาส์
         เป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่ได้รับข้อมูลจากการกดปุ่มข้างบนเมาส์ ทำหน้าที่คลิกปุ่มคำสั่งที่ต้องการ  แบ่งเป็น 2 ประเภท
          2.1  เมาส์ทางกล
          2.2  เมาส์แบบใช้แสง

3.อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค    
        เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถติดกับตัวโน๊ตบุ๊ค สะดวกในการพกพา  ซึ่งมี 3ประเภท
          3.1ลูกกลมควบคุม
          3.2แท่งชี้ควบคุม
          3.3แผ่นรองสัมผัส

4.ก้านควบคุม
         เป็นอุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอ มีลักษณะเป็นก้านโผล่ออกมาจากกล่อง

5.จอสัมผัส 
         เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการสัมผัสโดยเมื่อมีการเลือกตำแหน่งที่ ถูกเลือกจะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟต์แวร์ที่แปลคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำงาน

6.อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ  
              ที่นิยมใช้มีอยู่ 3ประเภท
        6.1 เครื่องอ่านรหัสแท่ง อุปกรณ์รับเข้าที่ทำงานโดยหลักการของการสะท้อนแสง  เครื่องจะส่องลำเสียงไปยังรหัสบนสินค้าจากนั้นจะเปลี่ยนรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้า ผ่านสายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
        6.2 เครื่องกราดตรวจหรือสแกนเนอร์
เป็น อุปกรณ์รับเข้าประเภทรูปภาพและข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์โดยใช้หลักสะท้อน แสง  ข้อมูลจะถูกแปลงในแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและเก็บไว้ในหน่วยความจำ
        6.3กล้องดิจิทัล
ทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูปทั่วไปแต่ไม่ต้องมีฟิล์มและมีคอมแพ็กแฟลช

7.เว็บแคม
        เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทกล้องวีดีโอที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวผ่านเว็บไซค์แล้วปรากฎบนหน้าจอได้

8.จอภาพ 
        มี2 ชนิด คือ
1.จอภาพแบบซีอาร์ที 
        มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์  ทำงานโดยเทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอน  โดยยิงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในจอเมื่อลำแสงวิ่งมาชนจะเกิดแสงสว่างขึ้น
2.จอภาพแบบแอลซีดี   
        ทำงานโดยอาศัยการเบี่ยงเบนแสงตามการควบคุมทิศทางของโพราไลเซชั่นของวัตถุที่ กั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและแผ่นเคลือบสารเรืองแสง  ป้องแรงดันเข้าไปยังแผ่นเพลตเมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า  มีผลให้แสดงจากแหล่งกำเนิดสามารถผ่านทะลุกระทบกับสารเรืองแสงจนเกิดแสงสีที่ ต้องการ

9. ลำโพง
        เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นเสียงโดยใช้งานคู่กับการด์เสียงซึ่งเป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอะนาล็อกแล้วส่งไป ยังลำโพง

10.หูฟัง
        เป็นอุปกรณ์ส่งออกใช้ฟังเพลงจากคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณจากไฟฟ้าเป็นเสียง  มีทั้งชนิดไร้สายและมีสาย บางรุ่นก็จะมีไมโครโฟนสำหรับสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตอีกด้วย  
       
11.  เครื่องพิมพ์ 
        เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลงานพิมพ์ลงบนกระดาษ แบบเครื่องพิมพ์
               11.1เครื่องพิมพ์แบบจุด
               11.2เครื่องพิมพ์เลเซอร์
               11.3เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก
               11.4พล็อตเคอร์

12.  โมเด็ม
       เป็นการแปลงสัญญาณเพื่อให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้โดยเชื่อมต่อ คอมเข้ากับคู่สายของโทรศัพท์   แล้วโมเด็มก็จะแปลงจากสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

         การทำงานของคอมพิวเตอร์แบ่งการทำงานได้เป็น 4 ส่วน ซึ่งได้แก่ รับคำสั่ง เก็บข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ออกมาให้เห็น 

         1. รับข้อมูลเข้า (Input Device) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์อินพุท ใช้สำหรับในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น เม้าส์ คีย์บอร์ด โมเด็ม จอยสติ๊ก เป็นต้น 

 

         2. เก็บข้อมูล (Storage Device) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และเป็นเครื่องช่วยในการบันทึกข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟลอปปีดิสก์ เทปไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์, zip disk, MO, PD, DVD เป็นต้น  



         3. ประมวลผล (Processing Device) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล คือ CPU (Central Processing Unit) ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ "สมอง" สำหรับ CPU ที่หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินชื่อมาแล้ว เช่น Intel, ADM, Cyrix เป็นต้น 



         4. แสดงผลลัพธ์ (Output Device) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์เอ้าต์พุต ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมา เช่น แสดงบนจอภาพ หรือพิมพ์สู่กระดาษ รวมทั้งเสียงที่ขับออกมาจากลำโพง เป็นต้น  



วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

My life' my LOVE > <'

ฉันคิดว่า ความรักที่สำคัญที่สุด คือความรักของ 

"คุณพ่อ" และ "คุณแม่" ค่ะ (:

 ... ถ้าเปรียบพ่อแม่ดั่งเทียนไขแล้ว พ่อแม่บางคนต้องลุกจุดไฟเผาตนเองตั้งแต่เช้ามืด เพื่อออกไปทำงานหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว และเก็บไว้ส่วนหนึ่งเป็นค่าตำราทุนการศึกษาให้แก่ลูก

    พ่อแม่บางคนทำงานหามรุ่ง-หามค่ำ อาบเหงื่อตากน้ำสุดแสนจะเหนื่อย แต่ก็ต้องทนลำบากเพื่อลูก เปรียบดั่งเทียนไข เมื่อเริ่มจุดไฟแล้วเทียนเล่มนั้นจะค่อย ๆ ละลายตังเองลงไปทุกวินาที 


    เทียนบางเล่มยังคงสว่างไสวอยู่มาก เปรียบดั่งพ่อแม่อยู่ในวัยกลางคนแล้ว และเทียนบางเล่มที่ริบหรี่ลงเมื่อถูกลมพัด เปรียบดั่งพ่อแม่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยหรือมีปัญหาในการทำงาน แต่ก็พยายามหอบสังขารไปทำงานหาเช้า-กินค่ำเพื่อลูก 

     แต่เทียนบางเล่มได้ถูกพายุร้ายพัดดับลงเสียแล้ว นั่นหมายถึงชีวิตของท่านทั้งสองได้จากเราไปสู่สุคติแล้ว...

    ดังนั้นเราผู้ซึ่งเป็นลูกจึง ควรมีความสำนึกในพระคุณอันใหญ่ หลวงนี้โดย การตอบแทน พระคุณ ท่านทั้งสอง เปรียบดั่งหนังสือเล่มนี้หากมีความดีอยู่บ้าง ก็ขอมอบความดีเหล่านี้แด่'คุณพ่อคุณแม่'่ที่ 'เป็นครู' คนแรกของลูก


              " ...พรจากพระองค์ใดไม่ประเสริฐเท่าพรจากคุณพ่อกับคุณแม่ นะคะ " 





ฟังเพลงนี้ทีไร น้ำตาไหลทุกทีเลยค่ะ T^T
คิดถึงคุณพ่อกับคุณแม่ นะคะ คิดถึงมากๆเลยด้วย TT'

ปล.รักคุณพ่ิอกับคุณแม่มากมายค่ะ ^^